วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปาห์ที่ 9

คอมพิวเตอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ

ไอบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็มและสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) [1]
คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย
ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์
ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ววัดกันที่ความเร็วการประมวลผล ซึ่งตามกฏของมัวร์ (Moore's Law) คอมพิวเตอร์จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเท่าทวีคูณในทุกปี
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติของคอมพิวเตอร์
2 ประเภทของคอมพิวเตอร์
2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
2.3 มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
2.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
2.5 โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)
3 การทำงานของคอมพิวเตอร์
3.1 หน่วยประมวลผล
3.2 หน่วยความจำ
4 ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
5 อ้างอิง
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น
//
[แก้] ประวัติของคอมพิวเตอร์
ดูบทความหลักที่ ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี หนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ในรูปเป็นเครื่องจำลองตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต
เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าอุปกรณ์ใดจัดเป็นคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ เพราะคำว่า "คอมพิวเตอร์" เองก็มีการตีความเปลี่ยนไปมาอยู่เสมอ แต่จุดเริ่มของคำนี้หมายถึงคนที่ทำหน้าที่เป็นนักคำนวณในสมัยนั้น
ช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริง แต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกENIAC (Electronics Numerical Integrator and Computer) เกิดขึ้นในปี1946 และประดิษฐ์โดย จอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ทำงานโดยใช้หลอดสุญญากาศจำนวน 18,000 หลอด มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ห้อง 15,000 ตารางฟุต เวลาทำงานต้องใช้กำลังไฟถึง 140 กิโลวัตต์ คำนวณในระบบเลขฐานสิบ
ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
ค.ศ. 1941 จอห์น อตานาซอฟฟ์ และ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้ร่วมกันสร้าง คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี ซึ่งสามารถประมวลผลเลขฐานสอง
ค.ศ. 1944 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
ค.ศ. 1948 Frederic Williams และ Tom Kilburn สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ หลอดรังสีคาโทด เป็นหน่วยความจำ
ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย
ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร
ค.ศ. 1958 Jack Kilby และ Robert Noyce เป็นผู้สร้าง Integrated Circuit หรือ ชิป (Chip) เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1962 สตีฟ รัสเซลล์ และ เอ็มไอที ได้พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกชื่อว่า "Spacewar"
ค.ศ. 1964 Douglas Engelbart เป็นผู้ประดิษฐ์เมาส์ และ ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต
ค.ศ. 1970 อินเทล พัฒนาหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์หรือ RAM เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1971 Faggin, Hoff และ Mazor พัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกให้อินเทล (Intel)
ค.ศ. 1971 Alan Shugart และ IBM พัฒนา ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และ Xerox ได้พัฒนาระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก
ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น
ค.ศ. 1983 บริษัทแอปเปิล ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบ GUI
ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายคอมพิวเตอร์รุ่น แอปเปิล แมคอินทอช ซึ่งทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง
ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ วางจำหน่าย ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นครั้งแรก
[แก้] ประเภทของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
[แก้] ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน
[แก้] เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
[แก้] มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
[แก้] ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC )
ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า
[แก้] โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)
โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ
[แก้] การทำงานของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆเช่น ENIAC เวลาโปรแกรมต้องใช้วิธีการเปลี่ยนสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากมาก จึงเกิดแนวคิดว่าตัวโปรแกรมน่าจะจัดเก็บอยู่ในส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ง่าย เป็นที่มาของแนวคิดที่ทำการจัดเก็บข้อมูลต่างๆรวมถึงโปรแกรมไว้ใน หน่วยความจำ หรือ memory ทำให้คอมพิวเตอร์จะได้รับคำสั่งโดยการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ และการปรับเปลี่ยนโปรแกรมสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงค่าภายในหน่วยความจำ
แนวคิดข้างต้นรู้จักในชื่อว่า "Stored-Program Concept" หรือ อีกชื่อว่าสถาปัตยกรรม von Neumann โดยเข้าใจว่า J. Presper Eckert และ John William Mauchly ซึ่งเป็นนักออกแบบ ENIAC เป็นผู้คิดค้นขึ้น
แนวคิดการทำงานแบบ Stored-Program ถูกใช้เป็นแนวคิดหลักของการทำงานในคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน โดยแนวคิดนี้จะแบ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็น 4 ส่วนหลักได้แก่
หน่วยประมวลผลในรูปแบบข้อมูล Binary หรือที่เรียกว่า Arithmetic-Logical Unit (ALU) เป็นการทำงานโดยเลขฐาน 2 เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักของมันคือทำการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานอันได้แก่การบวกและลบ และการทำการเปรียบเทียบข้อมูลสองข้อมูลว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ถ้าไม่จะมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า
หน่วยความจำ หรือ Memory ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data) และ คำสั่ง (Instructions) โดยข้อมูลภายในหน่วยความจำจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆเล็กๆเท่าๆกัน แต่ละส่วนมีที่อยู่ (address) เพื่อใช้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเอาไว้
อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต หรือ I/O Device เป็นส่วนที่ใช้นำข้อมูลจากโลกภายนอกเข้ามาภายในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาประมวลผล และเมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาแสดงผลให้โลกภายนอกคอมพิวเตอร์ได้รับทราบ
หน่วยควบคุมการทำงาน หรือ Control Unit เป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน หน้าที่หลักๆคือทำการอ่านข้อมูลคำสั่งที่อยู่ภายในหน่วยความจำหรือที่ได้จากอุปกรณ์อินพุต ทำการแปลความหมายและส่งไปประมวลผลใน ALU จากนั้นนำผลที่ได้ไปจัดเก็บในหน่วยความจำหรืออุปกรณ์เอาต์พุต หน้าที่หลักอีกประการ คือควบคุมลำดับการทำงานของแต่ละขั้นตอนให้อยู่ในเวลาที่เหมาะสม
[แก้] หน่วยประมวลผล
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผล จะรับคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำ โดยส่งเข้าที่ Queue Prefetch Unit จะตรวจสอบว่า ค่าใน Queue เป็นคำสั่งหรือไม่ ถ้าเป็นคำสั่งจะสั่งให้ Bus Interface Unit (BIU) ส่งค่าของคำสั่งไปที่ Decode Unit ถ้าเป็นค่าที่อยู่ (Address) ของหน่วยความจำ จะถูกส่งไปที่ Segment and Paging Unit Segment and Paging Unit จะแปลงที่อยู่ของหน่วยความจำ จากที่อยู่เสมือน (Virtual Address) ในรูปแบบของ segment : offset ให้กลายเป็นที่อยู่จริง (Physical Address) ที่ Bus Interface Unit เข้าใจ หน่วยถอดรหัส (Decode Unit) จะตรวจสอบและแยกแยะคำสั่ง แล้วแปลคำสั่ง และส่งสัญญาณควบคุมไปให้ Execution Unit ทำงานตามคำสั่งนั้นใน Execution Unit จะประกอบด้วย
Control Unit (CU) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในโปรเซสเซอร์เป็นตัวสั่งงาน Unit อื่นๆตามคำสั่งที่แปลจาก Decode Unit Protection Test Unit จะป้องกันและตรวจสอบการทำงานของส่วนต่างๆ ไม่ให้ทำผิดกฏเกณฑ์ จนเกิดข้อผิดพลาดขึ้น Register จะทำหน้าที่เก็บค่าชั่วคราวก่อนและหลังการประมวลเพื่อส่งให้ส่วนอื่นๆต่อไป เป็นเหมือนกระดาษทดชัว่คราว สำหรับ ALU Arithmetic Logic Unit (ALU) เป็นส่วนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และหาค่าตรรกะของการเปรียบเทียบ
เมื่อ ALU คำนวณหรือเปรียบเทียบค่าเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปเก็บไว้ที่ Register แล้ว Control Unit จะสั่งให้ BIU เก็บค่าผลลัพธ์ลงในหน่วยความจำ โดยแปลงที่อยู่เสมือนที่ Control Unit กำหนด ให้กลายเป็น ที่อยู่จริงของหน่วยความจำที่จะนำผลลัพธ์ไปเก็บไว้
[แก้] หน่วยความจำ
หน่วยความจำเป็นพื้นที่การทำงานและเป็นพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามลำพังโดยอาศัยเพียงหน่วยประมวลผลหลักได้ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ หน่วยความจำชั่วคราว หรือ หน่วยความจำสำรอง คือ แรม (RAM: Random Access Memory) โดยแรมจะเป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน และจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง อีกชนิดหนึ่งคือหน่วยความจำถาวร หรือหน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง
[แก้] ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพานิชอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ
งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์
งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล
ด้านสันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม
[แก้] อ้างอิง
^ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น
^ ศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติและไม่ได้บัญญัติ (๒) โดย รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ
^ ศัพท์วิทยาศาสตร์ราชมงคล
[แก้] ดูเพิ่ม

คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:คอมพิวเตอร์
ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ จาก SchoolNet คลังความรู้บนเว็บ รวม ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ประวัติ สารสนเทศ และ สถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์
ความรู้เกี่ยวพร้อมประวัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากเนคเทค
[แสดง]
บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
[แสดง]
1927–1950
ชาลส์ ลินด์เบอร์ก (1927) · วอลเตอร์ ไครสเลอร์ (1928) · โอเวน ยัง (1929) · มหาตมะ คานธี (1930) · ปีแอร์ ลาวาล (1931) · แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (1932) · ฮิวจ์ จอห์นสัน (1933) · แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (1934) · เฮลี เซลาสซีที่ 1 (1935) · วอลลิส ซิมป์สัน (1936) · เจียงไคเช็ก / ซ่งเหม่ยหลิง (1937) · อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (1938) · โจเซฟ สตาลิน (1939) · วินสตัน เชอร์ชิล (1940) · แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (1941) · โจเซฟ สตาลิน (1942) · จอร์จ มาร์แชลล์ (1943) · ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (1944) · แฮร์รี เอส. ทรูแมน (1945) · เจมส์ เอฟ. เบิร์นส (1946) · จอร์จ มาร์แชลล์ (1947) · แฮร์รี เอส. ทรูแมน (1948) · วินสตัน เชอร์ชิล (1949) · ทหารแห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา (1950)
[แสดง]
1951–1975
โมฮัมหมัด มอสซาเดค (1951) · สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (1952) · คอนราด อเดเนาร์ (1953) · จอห์น ดัลเลส (1954) · ฮาร์โลว์ เคอร์ติส (1955) · นักต่อสู้เพื่อเอกราชของฮังการี (1956) · นิกิต้า ครุสชอฟ (1957) · ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ (1958) · ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (1959) · นักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา: George Beadle / Charles Draper / John Enders / Donald A. Glaser / Joshua Lederberg / Willard Libby / Linus Pauling / Edward Purcell / อิสิดอร์ อิซาค ราบี / Emilio Segrè / William Shockley / Edward Teller / Charles Townes / James Van Allen / Robert Woodward (1960) · จอห์น เอฟ. เคนเนดี (1961) · สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 (1962) · มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (1963) · ลินดอน บี. จอห์นสัน (1964) · วิลเลียม เวสต์มอร์แลนด์ (1965) · บุคคลอายุต่ำกว่า 25 ปี ยุคหลังสงครามโลก (1966) · ลินดอน บี. จอห์นสัน (1967) · นักบินอวกาศยานอพอลโล 8: William Anders / Frank Borman / Jim Lovell (1968) · ชาวอเมริกันแถบตอนกลางของสหรัฐอเมริกา (1969) · วิลลี บรันดท์ (1970) · ริชาร์ด นิกสัน (1971) · เฮนรี คิสซิงเจอร์ / ริชาร์ด นิกสัน (1972) · จอห์น ซิริคา (1973) · กษัตริย์ไฟซาลแห่งซาอุดีอาระเบีย (1974) · สตรีอเมริกัน: Susan Brownmiller / Kathleen Byerly / Alison Cheek / Jill Conway / Betty Ford / Ella Grasso / Carla Hills / Barbara Jordan / Billie Jean King / Carol Sutton / Susie Sharp / Addie Wyatt (1975)
[แสดง]
1976–2000
จิมมี คาร์เตอร์ (1976) · อันวาร์ ซาดัต (1977) · เติ้ง เสี่ยวผิง (1978) · อายะตุลลอฮ์ โคมัยนี (1979) · โรนัลด์ เรแกน (1980) · เลค วาแวนซา (1981) · คอมพิวเตอร์ (1982) · โรนัลด์ เรแกน / ยูริ แอนโดรปอฟ (1983) · ปีเตอร์ อูเบอร์รอธ (1984) · เติ้ง เสี่ยวผิง (1985) · คอราซอน อากีโน (1986) · มิคาอิล กอร์บาชอฟ (1987) · โลก (1988) · มิคาอิล กอร์บาชอฟ (1989) · จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช (1990) · เท็ด เทอร์เนอร์ (1991) · บิล คลินตัน (1992) · ผู้นำสันติภาพ: ยัสเซอร์ อาราฟัต / เฟรเดอริค วิลเลม เดอ เคลิร์ก / เนลสัน มันเดลา / ยิตซัค ราบิน (1993) · สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 (1994) · นิวต์ กิงริช (1995) · เดวิด โฮ (1996) · แอนดี โกรฟ (1997) · บิล คลินตัน / เคนเนธ สตาร์ (1998) · เจฟฟรีย์ เบโซส (1999) · จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (2000)
[แสดง]
2001–ปัจจุบัน
รูดอล์ฟ กุยลิอานี (2001) · The Whistleblowers: Cynthia Cooper / Coleen Rowley / Sherron Watkins (2002) · ทหารแห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา (2003) · จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (2004) · The Good Samaritans: โบโน / บิลล์ เกตส์ / เมลินดา เกตส์ (2005) · You (2006) · วลาดีมีร์ ปูติน (2007) · บารัก โอบามา (2008) · เบน เบอร์นันเก (2009)
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C".
หมวดหมู่: คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารสัปดาห์ที่ 8

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ประจำงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เป็นงานจำหน่ายหนังสือและสื่อการศึกษา ที่มี บริษัทผู้ผลิตหนังสือ สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือ ร่วมออกร้านมากที่สุดในประเทศไทย โดยปกติจะจัดขึ้นในราว ปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2553 นี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 38 ระหว่างวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม - วันอังคารที่ 6 เมษายน นี้

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ และ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดขึ้น โดยตั้งแต่ครั้งที่ 1 ได้จัดงานขึ้นที่ บริเวณโรงละครแห่งชาติ จากนั้น มีการย้ายสถานที่จัดงานไปหลายแห่ง ได้แก่ สวนลุมพินี โรงเรียนหอวัง ท้องสนามหลวง[ต้องการอ้างอิง] คุรุสภา และ ถนนลูกหลวง ข้างกระทรวงศึกษาธิการ และได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นองค์ประธานเปิดงาน เป็นประจำทุกปี

[แก้] งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2546 ได้ย้ายสถานที่จัดงาน ไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และพร้อมกันนั้น ได้จัดงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (อังกฤษ: Bangkok International Book Fair) ควบคู่ไปด้วย โดยในปี พ.ศ. 2553 นี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม–6 เมษายน

[แก้] วัตถุประสงค์ของการจัดงานฯ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นการรณรงค์ให้คนไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอ่าน และส่งเสริมให้อ่านหนังสืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงการช่วยเหลือ บิดา มารดา ผู้ปกครอง ครู และ บรรณารักษ์ ได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เทคนิควิธีการส่งเสริมการอ่าน แก่เด็กและเยาวชน อย่างเหมาะสม และได้ผล

นอกจากนี้ ยังได้เปิดโอกาสให้คนไทย ได้สัมผัสกับหนังสือจากนานาชาติ เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ และมองเห็นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนังสือในต่างประเทศ และขณะเดียวกัน ก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติ ได้สัมผัสกับหนังสือไทย และยังเป็นสื่อกลางในการสร้างโอกาสให้กับนักเขียน และสำนักพิมพ์ของไทย ในการจำหน่ายลิขสิทธิ์ให้กับต่างประเทศ

ผลทางอ้อมของการจัดงาน คือจะได้เป็นการส่งเสริม ให้สำนักพิมพ์ในประเทศไทย เกิดความตื่นตัว ปรับปรุง และพัฒนา การผลิตหนังสือ ให้มีคุณภาพ มีความหลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ตลอดจนได้กระตุ้นการเรียนรู้ และปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ อย่างถูกต้อง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

หนังสือ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ



หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ก (e-book)
การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์
หนังสือถือเป็นสื่อที่มีความเก่าแก่ และมีอายุยาวนานที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด เคยมีการทำนายไว้ว่า เมื่อ วิทยุเกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่เมื่อวิทยุถือกำเนิดขึ้นจริง หนังสือก็ยังคงได้รับความนิยมเหมือนเดิม
หลังจากนั้นมีการทำนายว่า เมื่อ โทรทัศน์ เกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหลังจาก โทรทัศน์เกิดขึ้น หนังสือก็ยังคงได้รับความสำคัญเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประเภทของหนังสือ
2 การผลิตหนังสือ
3 การจัดเก็บหนังสือ
4 หนังสือในประเทศไทย
//
[แก้] ประเภทของหนังสือ
แบ่งตามการเผยแพร่ เช่นนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์
แบ่งตามเนื้อหา เช่น หนังสือแบบเรียน หนังสือการ์ตูน หนังสือราชการ หนังสือภาพ
[แก้] การผลิตหนังสือ
หนังสือในปัจจุบันส่วนใหญ่จัดทำโดยวิธีการพิมพ์ โดยมีเทคโนโลยีการพิมพ์หลายแบบ การผลิตหนังสือจำนวนมากมีแหล่งผลิตเรียกว่าโรงพิมพ์ หรือ สำนักพิมพ์ หนังสือบางส่วนที่ผลิตโดยใช้คนทำเรียกว่า หนังสือทำมือ
[แก้] การจัดเก็บหนังสือ
ในสถานที่สำคัญเช่นโรงเรียน มีการจัดเก็บหนังสือไว้ในห้องสมุด เพื่อให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ โดยใครอ่านหนังสือมากๆ ก็จะเรียกว่าหนอนหนังสือ ส่วนบางคนที่ชอบการสะสมหนังสือจะมักจัดเก็บหนังสือบนชั้นวางหนังสือ หรือ ตู้หนังสือ
[แก้] หนังสือในประเทศไทย
ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550 เฉลี่ยมีหนังสือใหม่ออกมาสู่ตลาดประมาณเดือนละ 995 ชื่อเรื่อง หรือประมาณ 11,460 ชื่อเรื่องทั้งปี ซึ่งยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยทั่วประเทศมีร้านขายหนังสือประมาณ 1900 ร้าน และมีสำนักพิมพ์ประมาณ 500 แห่ง ร้านขายหนังสือที่เปิดเป็นสาขาในประเทศไทยเช่น ศูนย์หนังสือจุฬา, ร้านนายอินทร์,B2S, ดอกหญ้า และ ซีเอ็ดบุคส์เซนเตอร์ เป็นต้น สำนักพิมพ์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดในไทยปริมาณมากได้แก่ นานมีบุ๊คส์ ,แพรวสำนักพิมพ์,มติชน ,สำนักพิมพ์ใยไหม)) ((แจ่มใส พับลิชชิ่ง เป็นต้น งานมหกรรมนังสือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยมีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

หนังสือ เป็นบทความเกี่ยวกับ วรรณกรรม วรรณคดี นวนิยายหรือหนังสือ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD