วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

หนังสือ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ



หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ก (e-book)
การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์
หนังสือถือเป็นสื่อที่มีความเก่าแก่ และมีอายุยาวนานที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด เคยมีการทำนายไว้ว่า เมื่อ วิทยุเกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่เมื่อวิทยุถือกำเนิดขึ้นจริง หนังสือก็ยังคงได้รับความนิยมเหมือนเดิม
หลังจากนั้นมีการทำนายว่า เมื่อ โทรทัศน์ เกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหลังจาก โทรทัศน์เกิดขึ้น หนังสือก็ยังคงได้รับความสำคัญเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประเภทของหนังสือ
2 การผลิตหนังสือ
3 การจัดเก็บหนังสือ
4 หนังสือในประเทศไทย
//
[แก้] ประเภทของหนังสือ
แบ่งตามการเผยแพร่ เช่นนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์
แบ่งตามเนื้อหา เช่น หนังสือแบบเรียน หนังสือการ์ตูน หนังสือราชการ หนังสือภาพ
[แก้] การผลิตหนังสือ
หนังสือในปัจจุบันส่วนใหญ่จัดทำโดยวิธีการพิมพ์ โดยมีเทคโนโลยีการพิมพ์หลายแบบ การผลิตหนังสือจำนวนมากมีแหล่งผลิตเรียกว่าโรงพิมพ์ หรือ สำนักพิมพ์ หนังสือบางส่วนที่ผลิตโดยใช้คนทำเรียกว่า หนังสือทำมือ
[แก้] การจัดเก็บหนังสือ
ในสถานที่สำคัญเช่นโรงเรียน มีการจัดเก็บหนังสือไว้ในห้องสมุด เพื่อให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ โดยใครอ่านหนังสือมากๆ ก็จะเรียกว่าหนอนหนังสือ ส่วนบางคนที่ชอบการสะสมหนังสือจะมักจัดเก็บหนังสือบนชั้นวางหนังสือ หรือ ตู้หนังสือ
[แก้] หนังสือในประเทศไทย
ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550 เฉลี่ยมีหนังสือใหม่ออกมาสู่ตลาดประมาณเดือนละ 995 ชื่อเรื่อง หรือประมาณ 11,460 ชื่อเรื่องทั้งปี ซึ่งยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยทั่วประเทศมีร้านขายหนังสือประมาณ 1900 ร้าน และมีสำนักพิมพ์ประมาณ 500 แห่ง ร้านขายหนังสือที่เปิดเป็นสาขาในประเทศไทยเช่น ศูนย์หนังสือจุฬา, ร้านนายอินทร์,B2S, ดอกหญ้า และ ซีเอ็ดบุคส์เซนเตอร์ เป็นต้น สำนักพิมพ์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดในไทยปริมาณมากได้แก่ นานมีบุ๊คส์ ,แพรวสำนักพิมพ์,มติชน ,สำนักพิมพ์ใยไหม)) ((แจ่มใส พับลิชชิ่ง เป็นต้น งานมหกรรมนังสือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยมีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

หนังสือ เป็นบทความเกี่ยวกับ วรรณกรรม วรรณคดี นวนิยายหรือหนังสือ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่ง opac

คลิกที่นี่ครับ

ส่ง opac

คลิกที่นี่

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6

ห้องสมุด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ชั้นวางหนังสือในห้องสมุด
ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทปและโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD รวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุด มีความสะดวกสืบค้นได้ง่าย ตรงกับความต้องการ
ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
ห้องสมุด ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูล, ศูนย์วัสดุ, ศูนย์วัสดุการศึกษา, สถาบันวิทยบริการ, ศูนย์เอกสาร และ ศูนย์สารนิเทศ เป็นต้น
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ความสำคัญของห้องสมุด
2 บทบาทของห้องสมุด
3 วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
4 ระบบรหัสที่ใช้จัดเก็บหนังสือ
5 ดูเพิ่ม
6 อ้างอิง
7 แหล่งข้อมูลอื่น
//
[แก้] ความสำคัญของห้องสมุด
ห้องสมุดมีความสำคัญมากต่อบุคคลทั้งหลาย เป็นที่รวมวิทยาการต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลความรู้ได้กว้างขวาง ทุกสาขาวิชา
ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ที่ผู้ใช้สามารถเลือกอ่านหนังสือ และค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง อย่างอิสระ และ ตามความสนใจของแต่ล่ะบุคคล และยังเป็นสถานที่ ที่ทำก่อให้เกิดนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้า จนกระทั่งทำให้ผู้ใช้ สามารถมองเห็นความแตกต่างของหนังสือ ว่าเล่มไหนเขียนได้ดี และสามารถจดจำแนวทางการเขียนที่ดี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ ทั้งยังช่วยให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ห้องสมุด ยังเป็นศูนย์ข้อมูล มีความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ เพราะห้องสมุดจำเป็นต้องมีข่าวสารใหม่ๆ ไว้บริการผู้ใช้
[แก้] บทบาทของห้องสมุด
ห้องสมุด มีบทบาทต่อบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งห้องสมุด สามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ
ด้านการศึกษา ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเอง โดยห้องสมุดมีบทบาท ในการเสริมความรู้ และสนันสนุนการศึกษาในระบบ และให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ได้ใช้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาอาชีพให้ทันกับวิทยาการ และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ที่ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว
ด้านวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นที่บำรุงรักษาวัฒนธรรมของชาติ ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไป เนื่องจากห้องสมุด เป็นแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลทางด้านสารนิเทศ ซึ่งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และสามารถใช้บ่งบอกความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ อีกด้วย
[แก้] วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
วัตถุประสงค์หลักทั่วไปของห้องสมุดมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้
เพื่อการศึกษา - การใช้ห้องสมุด เป็นหัวใจของการศึกษา เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ สามารถให้ผู้คน รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มเติมจากที่ร่ำเรียน ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา รวมไปถึงผู้ที่จบการศึกษาแล้ว ประชาชนทั่วไป สามารถใช้ห้องสมุดศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร - ทุกวันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับศึกษาวิทยาการต่างๆ และติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศทั่วโลก ทัให้คนรู้จักข่าวคราว ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
เพื่อใช้ในการค้นคว้า - ในห้องสมุด มีสารนิเทศมากมาย เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว
เพื่อจรรโลงใจมนุษย์ - การอ่านหนังสือ นอกเสียจากการได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ผู้อ่านมีความสุขได้อีกด้วย เนื่องจากความซาบซึ้งในความคิดที่ดีงาม ให้ความจรรโลงใจในสิ่งที่ดีแก่ผู้อ่าน ก่อให้เกิดแรงบรรดาลใจ ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ ทำให้ซาบซึ้งถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หนังสือวรรณกรรม วรรณคดี ทำให้เกิดจินตนาการ
เพื่อนันทนาการ - นอกจากการอ่านหนังสือวิชาการแล้ว ห้องสมุดยังเป็นสถานที่ในการพักผ่อนหย่อนใจ เพราะห้องสมุด ยังมีหนังสือประเภทต่างๆ เพื่อให้ความบันเทิงเบาสมอง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และปลูกสำนึกรักการอ่าน รู้จักอ่านหนังสืออย่างมีวิจารณญาณ
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5

ซ่อนวิกิพีเดีย ได้หน้าตาใหม่ช่วยเราหา bugs และแปล
เห็นอะไรแปลกไปหรือเปล่า? เราได้ปรับปรุง วิกิพีเดียใหม่ เพิ่มเติม [ซ่อน]
[ช่วยเราด้วยการแปล!]

การจัดหมวดหมู่ในห้องสมุด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
หน้านี้หมายถึงการจัดหมวดหมู่ในห้องสมุด สำหรับการจัดหมวดหมู่ในวิกิพีเดีย ดูวิกิพีเดีย:การจัดหมวดหมู่

การจัดหมวดหมู่ การจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดนั้นจำเป็นจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุด โดยเพื่อที่จะทำให้สามารถจัดเก็บหนังสือได้อย่างเป็นระเบียบ สะดวกในการค้นหา และการจัดเก็บเข้าที่เดิม โดยปัจจุบันมีระบบการจัดหมวดหมู่อยู่หลายระบบ โดยทุกระบบจะใช้หลักพื้นฐานเดียวกันคือ [1] โดยห้องสมุดแต่ละแห่งจะพิจารณาการจัดหมวดหมู่ จากจำนวนหนังสือ ขนาดของห้องสมุด ประเภทของหนังสือที่ให้บริการ ในปัจจุบันมีระบบที่มีประสิทธิภาพและ นิยมกันอย่างแพร่หลายใหญ่ ดังนี้

ระบบทศนิยมดิวอี้ ซึ่งนิยมใช้ในห้องสมุดที่มีขนาดเล็ก
ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดยทั่วไปจะนิยมใช้ในหอสมุดขนาดใหญ่เช่น หอสมุดในมหาวิทยาลัย
ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน ใช้กับห้องสมุดทางการแพทย์
ระบบทศนิยมสากล เหมาะกับห้องสมุดวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี
[แก้] อ้างอิง
Chan 1994:260-262

^ จัดเก็บสารสนเทศที่มีเรื่อง ประเภท และลักษณะการประพันธ์แบบเดียวกันไว้ด้วยกัน และโดยการใช้สัญลักษณ์แทน
ระบบทศนิยมของดิวอี้ นิยมใช้ในห้องสมุดทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดใหญ่ มีหอสมุดแห่งชาติหลายประเทศที่ใช้ รวมทั้งของไทยด้วย ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายแห่งเช่น จุฬา ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ตลอดจนห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94".
หมวดหมู่: ห้องสมุด
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ
ที่มา :http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94