วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารสัปดาห์ที่ 8

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ประจำงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เป็นงานจำหน่ายหนังสือและสื่อการศึกษา ที่มี บริษัทผู้ผลิตหนังสือ สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือ ร่วมออกร้านมากที่สุดในประเทศไทย โดยปกติจะจัดขึ้นในราว ปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2553 นี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 38 ระหว่างวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม - วันอังคารที่ 6 เมษายน นี้

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ และ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดขึ้น โดยตั้งแต่ครั้งที่ 1 ได้จัดงานขึ้นที่ บริเวณโรงละครแห่งชาติ จากนั้น มีการย้ายสถานที่จัดงานไปหลายแห่ง ได้แก่ สวนลุมพินี โรงเรียนหอวัง ท้องสนามหลวง[ต้องการอ้างอิง] คุรุสภา และ ถนนลูกหลวง ข้างกระทรวงศึกษาธิการ และได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นองค์ประธานเปิดงาน เป็นประจำทุกปี

[แก้] งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2546 ได้ย้ายสถานที่จัดงาน ไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และพร้อมกันนั้น ได้จัดงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (อังกฤษ: Bangkok International Book Fair) ควบคู่ไปด้วย โดยในปี พ.ศ. 2553 นี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม–6 เมษายน

[แก้] วัตถุประสงค์ของการจัดงานฯ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นการรณรงค์ให้คนไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอ่าน และส่งเสริมให้อ่านหนังสืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงการช่วยเหลือ บิดา มารดา ผู้ปกครอง ครู และ บรรณารักษ์ ได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เทคนิควิธีการส่งเสริมการอ่าน แก่เด็กและเยาวชน อย่างเหมาะสม และได้ผล

นอกจากนี้ ยังได้เปิดโอกาสให้คนไทย ได้สัมผัสกับหนังสือจากนานาชาติ เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ และมองเห็นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนังสือในต่างประเทศ และขณะเดียวกัน ก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติ ได้สัมผัสกับหนังสือไทย และยังเป็นสื่อกลางในการสร้างโอกาสให้กับนักเขียน และสำนักพิมพ์ของไทย ในการจำหน่ายลิขสิทธิ์ให้กับต่างประเทศ

ผลทางอ้อมของการจัดงาน คือจะได้เป็นการส่งเสริม ให้สำนักพิมพ์ในประเทศไทย เกิดความตื่นตัว ปรับปรุง และพัฒนา การผลิตหนังสือ ให้มีคุณภาพ มีความหลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ตลอดจนได้กระตุ้นการเรียนรู้ และปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ อย่างถูกต้อง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น